คู่มือใช้งาน

IPs Thailand Application

IPs Thailand Application

แอพพลิเคชั่นของชนเผ่าพื้นเมืองไทย

เป็นแอพพลิเคชั่นที่สร้างขึ้นเพื่อการสำรวจผลกระทบของชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มเปราะบางจากวิกฤติกโควิด-19 และจะพัฒนาต่อไปเป็นแอพพลิเคชั่นสำหรับจัดเก็บข้อมูลของชนเผ่าพื้นเมืองในประเภทไทยทุกกลุ่มชาติพันธุ์ต่อไป แอพพลิเคชั่นนี้จะใช้ติดตั้งในโทรศัพท์มือถือที่เป็นสมาร์ทโฟน หรือ แท๊บเล๊ตในระบบแอนดรอยด์ เป็นเวอร์ชั่นแรก

แอพพลิเคชั่นนี้ในเบื้องต้นใชัจัดเก็บข้อมูลใน 4 กลุ่มข้อมูล ประกอบด้วย

  • กลุ่มข้อมูลความรู้โควิด19

  • กลุ่มข้อมูลบุคคล

  • กลุ่มข้อมูลสวัสดิการจากรัฐ

  • กลุ่มข้อมูลเยียวยาโควิด19

โดยทดลองเก็บข้อมูลกับ 8 ชุมชนของ 4 ชนเผ่าพื้นเมือง ได้แก่ มละบริ มอแกน มานิ และกะเหรี่ยงโพล่ง โดย คุณนครินทร์ ดำรงภคสกุล เป็นผู้พัฒนาขึ้นร่วมกับชุมชนนักพัฒนาซอฟแวร์ของ google

ข้อแนะนำการใช้งาน

แอพพลิเคชั่นนี้ กำหนดให้มีเมนูช้งาน่ทั้งหมด 6 เมนู โดย 1 เมนูใช้งานเป็นหน้าปกของแอพพลิเคชั่น 1 เมนูใช้งานสำหรับดูผลการสำรวจที่มีการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องเมื่อมีการเพิ่ม แก้ไข ผลการสำรวจข้อมูล และ 4 เมนูสำหรับการสำรวจข้อมูล ที่ให้ผู้สำรวจดำเนินการสำรวจ ตรวจสอบ และแก้ไขข้อมูลได้ตลอดเวลา

  • Home: เป็นหน้าแรก/หน้าปกของแอพพลิเคชั่น เมื่อเข้ามาก็จะพบกับหน้านี้เป็นหน้าแรก

  • เมนู ความรู้โควิด19 : เป็นหมวดของการสำรวจข้อมูล โดยผู้สำรวจจะสอบถามจากชุมชนแล้วประเมินระดับความรู้ของชุมชนว่าอยู่ประมาณเท่าไรในแต่ละความรู้ มีให้เลือก 5 ระดับคือ

    • 0 % หมายถึง ไม่มีความรู้เลย

    • 25 % หมายถึง มีความรู้น้อย

    • 50 % หมายถึง มีความรู้ปานกลาง

    • 75 % หมายถึง มีความรู้มาก

    • 100 % หมายถึง มีความรู้สมบูรณ์

  • เมนู ข้อมูลบุคคล: เป็นข้อมูลส่วนที่ผู้สำรวจต้องทำการช่วยแก้ไขข้อมูลรายบุคคลให้สมบูรณ์ที่สุด เพราะจะมีทั้งข้อมูลประเภทบัตรประชาชน เลขบัตรประชาชน และข้อมูลวันเดือนปีเกิด อาชีพ การศึกษา โดยส่วนนี้ผู้สำรวจต้องแก้ไขให้เสร็จทุกคนก่อนที่จะไปสำรวจในเมนูถัดไป เพราะเมนูถัดไปอีก 2 เมนูนั้นจะรับข้อมูลจากข้อมูลบุคคลไปใช้ ถ้าข้อมูลบุคคลผิดพลาด ข้อมูลใน 2 เมนูก็จะผิดพลาดไปด้วย

  • เมนูสวัสดิการจากรัฐ: เป็นการตรวจสอบว่าบุคคลตามรายชื่อที่สำรวจในเมนูข้อมูลส่วนบุคคล เขาได้รับสวัสดิการจากรัฐต่อไปนี้หรือไม่

    • สวัสดิการสาธารณสุข หมายถึง สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล ซึ่งมีอยู่ 4 สิทธิ คือ สิทธิบัตรทอง 30 บาท / สิทธิข้าราชการ / สิทธิประกันสังคม / สิทธิ อสม.

    • สวัสดิการการศึกษา หมายถึง สิทธิด้านการศึกษาที่เขาได้รับ มีด้วยกัน 4 สิทธิ คือ สิทธิเรียนฟรี 12 ปี/สิทธิการศึกษาเด็กไร้สัญชาติ/สิทธิการศึกษาเด็กยากไร้/สิทธิกู้ยืมทางการศึกษา

    • สวัสดิการด้านอาชีพ หมายถึง สวัสดิการที่รัฐให้ด้านอาชีพ มีอยู่ 9 สิทธิ คือ สวัสดิการแห่งรัฐ-บัตรคนจน / เงินชดเชยรายได้ชาวสวนยาง / เงินชดเชยรายได้ชาวสวนปาล์ม / เงินชดเชยรายได้ชาวนา / เงินชดเชยรายได้ผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ / เงินชดเชยรายได้ผู้ปลูกอ้อย / เงินชดเชยรายได้ชาวประมง / เงินชดเชยรายได้อื่นๆ ซึ่งสวัสดิการนี้เกิดขึ้นก่อนจะมีสถานการณ์โควิด-19 ที่รัฐจัดให้ตามปกติ ซึ่งไม่เกี่ยวกับเงินเยียวยาเกษตรกร ถ้าเป็นเงินเยียวยาเกษตรกร 15,000 บาทนั้น จะอยู่ในเมนูต่อไปคือเยียวยาโควิด19

    • สวัสดิการสงเคราะห์ หมายถึง สวัสดิการที่รัฐจัดให้กลุ่มคน 3 ประเภท คือ ผู้สูงอายุ เด็กแรกเกิด และผู้พิการในรูปของเบี้ยยังชีพหรือเงินเลี้ยงดู ซึ่งกลุ่มคนทั้ง 3 ประเภทจะได้รับสิทธิเมื่อได้ขึ้นทะเบียนกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งไม่ใช่เงินเยียวยากลุ่มเปราะบางจากวิกฤติโควิด19

  • เมนูเยียวยาโควิด-19 หมายถึง เงินเยียวยาพิเศษ/เฉพาะกิจจากวิกฤติโควิด-19 ที่รัฐออกมาตรการเยียวยาให้กับกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบ ประกอบด้วยมาตรการเยียวยา 6 มาตรการ ได้แก่ เงินเพิ่มบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเดือนละ 500 บาท / โครงการเราไม่ทิ้งกันสำหรับผู้ประกอบการอิสระ 15,000 บาท ระยะเวลา 3 เดือน / โครงการเยียวยาเกษตรกร สำหรับเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้กับเกษตรอำเภอ ปศุสัตว์อำเภอ และประมงอำเภอ จะได้รับเงินเยียวยา 15,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน / โครงการ / โครงการเยียวยากลุ่มเปราะบาง 3 ประเภท ที่เพิ่มเติมจากเงินสงเคราะห์รายเดือนโดยมีเงินเพิ่มให้กับกลุ่มเปราะบางรายละ 3,000 บาท / โครงการเยียวยาแรงงานประกันสังคม มาตรา 33

  • เมนูผลการสำรวจ คือ เมนูที่จะนำไปสู่หน้าแสดงผลการสำรวจ ซึ่งเป็น visual studio นำเสนอไว้เป็นรูปของกราฟแสดงสถิติสำคัญที่สำคัญ โดยนำข้อมูลรายละเอียดเฉพาะบุคคลมานำเสนอในรายงานผล

ขั้นตอนการติดตั้งแอพพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟน

ขั้นตอนการติดตั้งแอพพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟน

ข้อแนะนำ : ผู้ต้องการติดตั้งแอพพลิเคชั่นนี้ มีความจำเป็นต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา และควรมีบัญชีอีเมลล์เตรียมพร้อมไว้ สำหรับผู้ที่สร้างระบบป้องกันข้อมูลของตนเองไว้ในสมาร์ทโฟน และจำเป็นต้องอนุญาตให้แอพพลิเคชั่นนี้เข้าถึงข้อมูลบัญชีของท่าน เพื่อการเชื่อมต่อระบบแผนที่ กล้องถ่ายภาพ หรือคลังภาพของท่านด้วย หากท่านไม่ยินยอม กรุณาใช้งานผ่านเว็บเบราว์เซอร์

การติดตั้งแอพพลิเคชั่น

ให้ท่านกดติดตั้งที่ปุ่มด่านล่างนี้ จากนั้นสมาร์ทโฟนของท่านจะทำการติดตั้งแอพพลิเคชั่นให้โดยอัตโนมัติ

เมื่อระบบติดตั้งแอพพลิเคชั่นเรียบร้อย จะถามท่านว่าให้ทำการติดตั้งปุ่มทางลัดเข้าแอพพลิเคชั่น (Add Shortcut) บนหน้าจอโทรศัพท์มือถือหรือไม่ ให้ท่านตอบตกลง ระบบจะทำการติดตั้ง shortcut 2 ตัวบนหน้าจอของท่านคือ Addsheet และ IPs Thailand ตามรูป

คำเตือน: ทั้งสองแอพพลิเคชั่น จำเป็นต้องใช้งานร่วมกัน เนื่องจากแอพพลิเคชั่นสำรวจข้อมูลนี้พัฒนาขึ้นจากโปรแกรม appsheet รุ่นทดลองใช้ ดังนั้นจึุงไม่สามารถถอนการติดตั้ง AppSheet ออกจากโทรศัพท์มือถือได้ หากท่านถอนการติดตั้งไป แอพพลิเคชั่น IPs Thailand ก็จะถูกถอนการติดตั้งไปด้วย แต่การถอนแอพพลิเคชั่นออกจากโทรศัพท์มือถือของท่านจะไม่มีผลให้ข้อมูลทั้งหมดที่ทำมาก่อนหน้านี้สูญหายไป เพราะข้อมูลจะถูกเก็บไว้แล้วเมื่อท่านกดบันทึกข้อมูล เมื่อท่านติดตั้งใหม่ก็สามารถเข้าไปใช้งานได้ดังเดิม

ขั้นตอนการใช้งานแอพพลิเคชั่น IPs Thailand

แอพพลิเคชั่นนี้ ได้รับการออกแบบมาเพื่อการใช้งานรวบรวมข้อมูลในระบบฐานข้อมูลที่แยกส่วนออกเป็นระบบฐานข้อมูลย่อยเพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ ดังนั้น จึงมีส่วนย่อย (เมนู) ให้ใช้งานเฉพาะเจาะจงไปในแต่ละเรื่องที่ต้องการ แต่จะมีส่วนพื้นฐานคือ "ข้อมูลบุคคล" เป็นส่วนหลักของระบบและเชื่อมโยงกับข้อมูลส่วนอื่น ซึ่งรายละเอียดของแต่ละส่วนเมนูย่อย จะมีรายละเอียดดังนี้

หน้าแรก-ปก

เมื่อเข้าใช้งาน จะพบภาพหน้าแรกของแอพพลิเคชั่นนี้ เมื่อกดเข้าแอพพลิเคชั่นเพื่อทำงานจะพบหน้าแรกนี้เสมอ ซึ่งทางแอดมินจะปรับเปลี่ยนหน้าแรกให้เหมาะสมต่อไป และไม่ต้องตกใจที่หน้าแรกมีการเปลี่ยนแปลง

เมนู ความรู้โควิด19

หน้านี้จะเป็นส่วนที่ให้ผู้สำรวจใน 8 หมู่บ้าน ซึ่งได้จัดเวทีร่วมกับตัวแทนครัวเรือนในหมู่บ้านแล้วทำการประเมินความรู้ของคนในหมู่บ้านเกี่ยวกับโควิด-19 และดำเนินการตอบคำถามการประเมินในแอพพลิเคชั่น (คลิกดูรายละเอียด)

ข้อมูลบุคคล

เมนูนี้ ผู้สำรวจต้องเข้ามาตรวจสอบและเพิ่มข้อมูล ก่อนที่จะไปทำในเมนูถัดไปนื่องจากเป็นข้อมูลพื้นฐานของระบบข้อมูลทั้งหมด ดังนั้นผู้สำรวจจึงควรศึกษารายละเอียดให้ครบถ้วน (คลิกดูรายละเอียดการใช้งาน)

สวัสดิการจากรัฐ

เมนูนี้ ผู้สำรวจจะทำการตรวจสอบและเพิ่มข้อมูลด้านสวัสดิการที่แต่ละคนได้รับจากรัฐ เช่น บัตรคนจน สวัสดิการรักษาพยาบาล 30 บาท หรือสวัสดิการสงเคราะห์อื่นๆ ซึ่งจะมีการกำหนดไว้ในแต่ละสวัสดิการ ให้ทำการระบุรายละเอียดของแต่ละบุคคลได้เลย

เยียวยาโควิด19

เมนูนี้ ผู้สำรวจจะได้ทำการเพิ่มข้อมูลด้านการเยียวยาจากรัฐ ที่ภาครัฐได้ออกมาตรการเยียวยา ให้ทำการระบุรายละเอียดของแต่ละบุคคลได้เลย


รายงานสรุป

เมนูนี้ จะสรุปประมวลผลที่ได้จากการสำรวจ เป็นกราฟต่างๆ สามารถคลิกดูรายละเอียดได้