สถานการณ์โควิด - 19 ที่ส่งผลกระทบต่อ
ชนเผาพื้นเมืองในประเทศไทย

ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทซไทย ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่มีประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยที่ยังไม่มีระบบข้อมูลรองรับอย่างชัดเจนว่าประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ใดบ้าง ตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่ในพื้นที่ใดบ้าง และมีจำนวนประชากรเท่าไหร่ จากข้อมูลเท่าที่ปรากฎ ได้แก่ ะบบข้อมูลของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) กระทรวงวัฒนธรรมได้รวบรวมไว้มีอยู่ทั้งหมด 81 กลุ่มชาติพันธุ์ แต่ไม่มีข้อมูลจำนวนประชากรจำแนกรายกลุ่มชาติพันธุ์ และสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นการรวมตัวขององค์กรภาคประชาสังคมชนเผ่าพื้นเมืองได้ระบุข้อมูลประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย 39 กลุ่มชาติพันธุ์มีประชากรประมาณ 6 ล้านคน กระจายอยู่ใน 67 จังหวัดจาก 77 จังหวัดของประเทศไทย สำหรับข้อมูลที่เป็นปัจจุบันของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ยังไม่มีการยืนยันและได้รับการยอมรับจากภาครัฐ


มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม ได้ริเริ่มพัฒนาระบบฐานข้อมูลชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยโดยดำเนินการในกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความเปราะบางจากขนาดประชากรที่มีจำนวนไม่ถึง 10,000 คน จำนวน 10 กลุ่มชาติพันธุ์ ได้ข้อสรุปที่เป็นสาระสำคัญของความเปราะบางของกลุ่มชาติพันธุ์มีอยู่ 3 ด้าน คือ ความเปราะบางด้านประชากร ความเปราะบางด้านสังคมและวัฒนธรรม และความเปราะบางด้านเศรษฐกิจ

ดูรายละเอียดจาก https://www.thaiipportal.info/study-reports


ความไม่สมบูรณ์ของระบบข้อมูลยืนยันความเป็นตัวตนและการยอมรับการมีอยู่ของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ถึงปัจจุบัน (กุมภาพันธ์ 2564) จึงไม่มีข้อมูลสะท้อนถึงการได้รับผลกระทบของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย เนื่องด้วยข้อจำกัดดังกล่าว จึงเป็นช่องโหว่ที่ทำให้ชนเผ่าพื้นเมืองหลายกลุ่มชาติพันธุ์ไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการและบริการของภาครัฐ โดยเฉพาะมาตรการดูแลและเยียวยาประชาชนของรัฐบาลไทย


การวิจัยนี้จึงได้ทำการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มเปราะบางที่เป็นชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคโคโลน่าไวรัส (โควิด-19) ที่ทำให้พวกเขาเข้าไม่ถึงบริการของรัฐจากำมาตรการดูแลและเยียวยาของรัฐบาลไทย เพื่อวิเคราะห์ถึงช่องโหว่ของข้อมูลที่ประชากรกลุ่มเปราะบางที่เป็นชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยไม่สามารถเข้าถึงการบริการสาธารณะจากภาครัฐดังกล่าว โดยทำการศึกษาจาก 4 กลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นประชากรชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มเปราะบางที่สุด คือ มละบริ มอแกน มานิ และกะเหรี่ยงโพล่ง