การเข้าถึงมาตรการดูแลและเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ของชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มเปราะบางที่สุด

มาตรการดูแลและเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

มาตรการที่รัฐบาลไทยได้กำหนดให้มีการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากโควิด - 19 ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นมา ประกอบด้วย 4 โครงการที่เป็นการช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยแก่ประชาชนกลุ่มต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

โครงการช่วยเหลือผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

ประชาชนที่ได้รับสวัสดิการเพื่อแก้ไขปัญหาด้านการประกอบอาชีพให้กับคนไทยที่ไม่ใช่ข้าราชการ และแรงงานในสถานประกอบการ หรือคนไทยที่อยู่ในกลุ่มอาชีพเกษตรกร ผู้ประกอบการอาชีพอิสระต่างๆ ที่ประสบปัญหาด้านการครองชีพเป็นผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ได้รับเงินเพิ่มในบัตรสวัสดิการคนละ 1,000 บาท/เดือน รวม 3 เดือน ตั้งแต่พฤษภาคม ถึง กรกฎาคม 2563

ประชากรใน 8 ชุมชนของ 4 ชนเผ่าพื้นเมือง ที่ได้รับการช่วยเหลือตามมาตรการนี้ มีไม่เกินร้อยละ 30 ของประชากรที่สำรวจได้ อีกร้อยละ 70 นั้นไม่ได้รับการช่วยเหลือจากมาตรการนี้

โครงการ "เราไม่ทิ้งกัน"

เป็นการช่วยเหลือแรงงานผู้ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ที่ประกอบด้วยลูกจ้างชั่วคราว ผู้ประกอบอาชีพอิสระ จะได้รับเงินช่วยเหลือเดือนละ 5,000 บาท รวม 3 เดือน โดยผู้มีสิทธิจะได้รับเงินช่วยเหลือนี้ต้องลงทะเบียนในระบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ "www.เราไม่ทิ้งกัน.com" ในช่วงเดือนมีนาคม ถึง เมษายน 2563


ประชากรใน 8 ชุมชนของ 4 ชนเผ่าพื้นเมือง ที่ได้รับการช่วยเหลือตามมาตรการนี้ มีไม่เกินร้อยละ 10 ของประชากรที่สำรวจได้ อีกร้อยละ 90 นั้นไม่ได้รับการช่วยเหลือจากมาตรการนี้


โครงการช่วยเหลือเกษตรกร

เป็นโครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ

  • เกษตรกรทำไร่ ทำนา ทำสวน ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรผ่านสำนักงานเกษตรอำเภอ

  • เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ขึ้นทะเบียนกับกรมปศุสัตว์

  • เกษตรกรผู้ทำการประมง ขึ้นทะเบียนกับกรมประมง

โดยได้มีการปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง กรกฎาคม 2563 เกษตรกรที่ผ่านเกณฑ์จะได้รับเงินช่วยเหลือรายละ 5,000 บาท/เดือน รวม 3 เดือน

โครงการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง

เป็นการช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางที่อยู่ใน 3 กลุ่มที่ได้รับสวัสดิการสงเคราะห์จากภาครัฐ ประกอบด้วย ผู้พิการ ผู้สูงอายุ และเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี และอยู่ในครัวเรือนยากจน เป็นการช่วยเหลือโดยให้เงินเพิ่มรายละ 1,000 บาท/เดือน รวม 3 เดือน ดำเนินการในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง กรกฎาคม 2563

ประชากรใน 8 ชุมชนของ 4 ชนเผ่าพื้นเมือง ที่ได้รับการช่วยเหลือตามมาตรการนี้ มีไม่เกินร้อยละ 9 ของประชากรที่สำรวจได้ อีกร้อยละ 91 นั้นไม่ได้รับการช่วยเหลือจากมาตรการนี้


สรุปข้อมูลประชากรชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มเปราะบางที่สุดในประเทศไทย
ที่ได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐในช่วงโควิด-19

จากผลการสำรวจดังกล่าว ชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มเปราะบางที่สุดไม่สามารถเข้าถึงบริการและมาตรการเยียวยาทางการเงิน ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ที่ภาครัฐได้ดำเนินการ มีประเด็นที่สำคัญดังนี้