การใช้งาน

เมนูความรู้โควิด19

ในแอพพลิเคชั่น Thai Indigenous DATA

หน้าสำรวจความรู้โควิด-19

หน้านี้คือส่วนของการประเมินความรู้ของคนในหมู่บ้านที่ได้จากเวทีประชุมของแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งผู้สำรวจที่รับผิดชอบในแต่ละชนเผ่าพื้นเมืองจะทำการจัดเวทีและพูดคุยเกี่ยวกับโควิด-19 กับคนในชุมชนและทำการประเมินความรู้ร่วมกับคนในชุมชน ซึ่งจะมีเนื้อหาการประเมินแบ่งออกเป็น 11 หัวข้อ โดยใน 10 หัวข้อจะประเมินเป็น 5 ระดับ % คือ

    • 0 % หมายถึง ไม่เข้าใจ/ไม่มีความรู้/ไม่มีความเสี่ยง/ไม่มีการป้องกัน/ไม่ได้รับผลกระทบ

    • 25 % หมายถึง มีความรู้/เข้าใจ/เสี่ยง/ป้องกัน/ผลกระทบ ในระดับน้อย

    • 50 % หมายถึง มีความรู้/เข้าใจ/เสี่ยง/ป้องกัน/ผลกระทบ ในระดับปานกลาง

    • 75 % หมายถึง มีความรู้/เข้าใจ/เสี่ยง/ป้องกัน/ผลกระทบ ในระดับมาก

    • 100 % หมายถึง มีความรู้/เข้าใจ/เสี่ยง/ป้องกัน/ผลกระทบ ในระดับมากที่สุด

ห้วข้อสุดท้าย จะให้เขียนสรุปถึงความต้องการการช่วยเหลือของชุมชนจากภาครัฐ/ภายนอกชุมชนอย่างไรบ้าง

ผู้สำรวจคลิกที่ปุ่ม + สีฟ้า มุมขวาด้านล่าง และจะปรากฎหน้าประเมินขึ้นมา

หน้าประเมินความรู้โควิด-19

หน้านี้ ให้ผู้สำรวจเลือกจากปุ่มเลือกตามหัวข้อ

  • ชนเผ่าพื้นเมือง ให้เลือกเพียง 1 ชนเผ่าพื้นเมือง

  • ชุมชน ให้เลือกชุมชนเพียง 1 ชุมชน

เช่น ผู้สำรวจต้องการประเมินชุมชน "น้อยพลังงาน" ให้เลือก >กะเหรี่ยงโพล่ง และเลือก > น้อยพลังงาน ซึ่งปุ่มที่เลือกจะเปลี่ยนเป็นสีฟ้า จากนั้นเลื่อนลงไปประเมินตามหัวข้ออื่นๆ ต่อ

หน้าประเมินความรู้โควิด-19

เมื่อเลื่อนลงจะพบหัวข้อการประเมินดังนี้

  • โควิด19 เป็นโรคระบาด

  • โควิด19 ติดต่อได้ง่าย

  • โควิด19 ผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัวเสี่ยงสูง

  • ได้รับคำแนะนำปฏิบัติตัว

  • การป้องกันโควิด19 ในชุมชน

  • ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของชุมชน

  • คนในชุมชนได้รับผลกระทบ

  • การติดตามช่าวสารโควิด19

หน้าประเมินความรู้โควิด-19

และเมื่อเลื่อนลงอีกจะพบหัวข้อการประเมินดังนี้

  • ชุมชนมีโทรศัพท์มือถือ

  • ชุมชนมีโทรทัศน์

ทั้งสองหัวข้อประเมินนี้ หมายถึง ให้ประเมินว่าชุมชนที่สำรวจมีเครื่องมือสื่อสาร/ติดตามข่าวสารทั้งสองชนิดนี้ในระดับใด

และหัวข้อสุดท้ายให้เขียนความต้องการของชุมชนลงไปในช่องว่าง

  • ความต้องการการช่วยเหลือของชุมชน

และจากนั้นกด SAVE หรือ บันทึก สิ้นสุดการประเมินสำหรับชุมชนนั้นๆ

ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและการแก้ไข

การบันทึกข้อมูลผิดพลาด

กรณีที่ 1 เลือกปุ่มชนเผ่าพื้นเมือง และ/หรือ ปุ่มชุมชนผิด ตัวอย่างเลือกกะเหรี่ยงโพล่ง และเลือกชุมชนมอแกนเกาะเหลา ซึ่งเลือกผิด ดังภาพตัวอย่าง และต้องการเข้าไปแก้ไขความผิดพลาดนั้น ทำการล้างข้อมูลโดยให้กดรูปถังขยะด้านขวาบนสุด และทำการกดเลือก วงกลมสีฟ้า + เพื่อเพิ่มข้อมูลใหม่ และเมื่อแก้ไขแล้วกด SAVE / บันทึก

การเปลี่ยนผลประเมิน

กรณีที่ 2 หากผู้สำรวจระบุระดับการประเมินผิดและต้องการเปลี่ยน หรือต้องการเพิ่มคำอธิบายถึงความต้องการของชุมชน สามารถทำได้โดยเลือกปุ่มวงกลมสีฟ้าที่มีรูปดินสอและกระดาษอยู่ตรงกลางมุมขวาล่าง และเข้าไปเปลี่ยนแปลง และเมื่อแก้ไขแล้วกด SAVE/ บันทึก